วันศุกร์ที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

มะม่วงป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่และมะเร็งเต้านม

มะม่วงป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่และมะเร็งเต้านม

มะม่วง นอกจากจะเป็นผลไม้ที่มีรสชาติอร่อยแล้ว ยังเป็นผลไม้ที่มีเส้นใย โพแทสเซียม และวิตามินซีสูงอีกด้วย และในขณะนี้ การศึกษาในห้องปฏิบัติการ ค้นพบว่ามะม่วงอาจช่วยป้องกัน หรือทำลายเซลล์มะเร็งลำไส้ใหญ่และมะเร็งเต้านมได้

การศึกษาจัดทำโดยนัก วิทยาศาสตร์อาหารจากศูนย์วิจัย Texas AgriLife โดยทำการทดสอบสารสกัดโพลีฟีนอลในมะม่วง (สารธรรมชาติที่พบในพืช ซึ่งเชื่อว่าช่วยส่งเสริมสุขภาพ) กับเซลล์มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งเต้านม มะเร็งปอด มะเร็งเม็ดเลือดขาว และมะเร็งต่อมลูกหมากในห้องปฏิบัติการ

ผลการศึกษาพบว่า สารสกัดจากมะม่วงมีผลต่อมะเร็งปอด และมะเร็งต่อมลูกหมากบ้างเล็กน้อย แต่กลับมีประสิทธิภาพมากกับมะเร็งเต้านมและมะเร็งลำไส้ใหญ่ โดยสามารถทำให้เซลล์มะเร็งเต้านมและมะเร็งลำไส้ใหญ่ตายได้ รวมทั้งยังไม่ทำอันตรายกับเซลล์ที่ดี ซึ่งอยู่ติดกับเซลล์มะเร็งด้วย

จากผลการศึกษานี้ นักวิจัยวางแผนต่อไปว่าจะทำการทดลองเล็กๆ ทางคลินิกกับอาสาสมัครที่มีการอักเสบของลำไส้เล็ก และมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็ง เพื่อดูว่ามีผลทางคลินิกหรือไม่?

สำหรับ ประโยชน์ของมะม่วงนั้น นอกจากมีวิตามินซีสูงแล้ว ยัง มีวิตามินเอ (เบต้าแคโรทีน) และมีวิตามินอื่น ๆ ที่จำเป็นสำหรับร่างกาย เช่น วิตามินอี บี และเค ซึ่งทั้งหมดนี้จำเป็นสำหรับหัวใจ ช่วยให้หัวใจแข็งแรง และยังอุดมไปด้วยเส้นใย ช่วยรักษาอาการท้องผูกและกล้ามเนื้อลำไส้ใหญ่แข็งเกร็งได้อีกด้วย



ขั้นตอนการออกกำลังกายที่ถูกวิธี

ขั้นตอนการออกกำลังกาย

ขั้นตอนที่ 1 การอุ่นร่างกาย( Warm up) ก่อนที่จะออกกำลังกาย ต้องการอบอุ่นร่างกายก่อเช่น ถ้าเราจะออกกำลังกายด้วยการวิ่ง ก็ไม่สมควรที่จะลงวิ่งทันที่ เมื่อไปถึงสนามควรจะอุ่นร่างกาย มีอุณหภูมิสูงขึ้นก่อน ช้าๆ เช่น การเคลื่อนไหวร่างการ สะบัดแข้ง สะบัดขา แกว่งแขน วิ่งเหยาะ อยู่กับที่ ช้าๆ ชั่วระยะเวลาหนึ่งก่อน แล้วจึงออกวิ่ง

ดังนั้น การอุ่นร่างกายก่อนออกกำลังกายจึงเป็นขั้นตอนแรกที่จะต้องกระทำ

ขั้นตอนที่ 2 เป็นขั้นตอนการออกกำลังอย่างจริงจัง การออกกำลังกายนั้นจะต้องเพียงพอ ทำให้ร่างกายเกิดการเผาไหม้อาหารในร่างกาย โดยใช้ออกซิเจนในอากาศ โดยการหายใจเข้าไปเพื่อทำให้เกิดพลังงาน จนถึงระดับหนึ่ง การที่จะออกกำลังกายได้ถึงระดับนี้ เป็นเรื่องสำคัญที่ผู้ออกกำลังกายจะต้องเข้าใจให้ถูกต้อง

ขั้นตอนที่ 3 เป็นขั้นตอนการผ่อนให้เย็นลง คือ เมื่อได้ออกกำลังกายตามกำหนดที่เหมาะสม ตามขั้นตอนที่ 2 แล้วควรจะค่อยๆ ผ่อนการออกกำลังกายลงที่ละน้อย แทนการหยุดการออกกำลังกายโดยทันที ทังนี้เพื่อให้เลือดที่คั่งอยู่ตามกล้ามเนื้อ ได้มีโอกาสกับคืนสู่หัวใจ

บัญญัติ 10 ประการในการออกกำลังกาย

1. ออกกำลังกายเป็นประจำ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 วัน

2. ออกกำลังกายครั้งละ 15-30 นาที

3 ออกกำลังกายแบบค่อยเป็นค่อยไปอย่าหักโหม

4. ควรอบอุ่นร่างกายก่อนออกกำลังกายและผ่อนกายก่อนเริ่มออกกำลังกาย

5. ออกกำลังกายให้เหมาะสมกับวัย

6. ออกกำลังกายที่ให้ความสนุกสนาน

7. แต่งกายให้เหมาะสมกับกับชนิดของการออกกำลังกาย

8. ออกกำลังกายในสถานที่ปลอดภัย

9. ควรออกกำลังกายหลากหลายชนิด

10. ผู้สูงอายุ หญิงมีครรภ์ ผู้มีโรคประจำตัว ต้องตรวจสุขภาพก่อนออกกำลังกาย











                                                            



ท่าการฝึกโยคะหรืออาสนะ

                การออกกำลังกายเพื่อทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรงในปัจจุบัน อาจจะอาศัยการออกกำลังโดยการวิ่งหรือว่ายน้ำ

การออกกำลังบางชนิดก็อาศัยเครื่องมือช่วยเช่นการใช้รถจักรยาน การวิ่งบนสายพานเป็นต้น แต่การออกกำลังกายของโยคะ หมายถึงการบริหารให้กล้ามเนื้อแข็งแรงแล้วยังเป็นการบริหารจิตใจ และจิตวิญาณให้มีพลัง

                การฝึกท่าโยคะเรียก Asanas เป็นการฝึกท่าโยคะและค้างท่านั้นเป็นระยะเวลาหนึ่ง การฝึกโยคะจะเน้นความแข็งแรงและความยืดหยุ่นของกระดูกสันหลังทำให้เลือดและสารอาหารไปเลี้ยงประสาทไขสันหลังเพิ่ม การฝึกโยคะจะทำให้การทำงานของต่อมต่างๆรวมทั้งต่อมไร้ท่อทำงานดีขึ้น


ท่าของการฝึกโยคะเป็นการยืดเหยียดกล้ามเนื้อตามแบบของโยคะ และมีการสอดคล้องกับการหายใจเป็นการรวมกายและจิตร่วมกัน การฝึกท่าโยคะจะเป็นการฝึกประสาท ความยืดหยุ่น ความแข็งแรง การทรงตัว ลดความอ่อนล้าของกล้ามเนื้อ สุขภาพจิตและสุขภาพกายดีขึ้น ท่าที่ใช้สำหรับการฝึกโยคะมีมากมาย แต่จะแบ่งท่าการฝึกดังนี้ ท่าที่เป็นหลักในการฝึกโยคะมีดังนี้

1. Corpse Pose (shava-âsana)—

2. Forward Bend (pashcîmottâna-âsana)

3.  Back Bend or Cobra (bhujanga-âsana)

4. Sitting Twist (mâtsyendra-âsana)

5. Mountain Pose (pârvata-âsana)—for cultivating stability

6. Tree Pose (vriksha-âsana)—an excellent exercise for improving your sense of balance

7. Standing Forward Bend (pâda-hasta-âsana)

8. Standing Side Bend or Triangle (trikona-âsana)

9. Warrior’s Pose (vîra-bhadra-âsana)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น